วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

ก๊าซธรรมชาติ

ก๊าซธรรมชาติ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยไฮโดรเจนและคาร์บอนที่เกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ประเภทจุลินทรีย์ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี ซึ่งสามารถแยกส่วนประกอบได้ เป็นมีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น หรือ หมายถึง ปิโตรเลียมที่มีสภาพเป็นแก๊ส ณ ที่อุณหภมูและความดันมาตรฐาน 15.6เซลเซียส และ 101 กิโลปาสคาล
โดยในแหล่งธรรมชาติอาจมีเฉพาะ มีเทน หรือ อีเทน ล้วนๆ หรืออาจ เจือปนโพรเพน และบิวเทนในบางแหล่ง ซึ่งถ้าแยกโพรเพน และบิวเทน ออกมาบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas) หรือ LPG หรือ ก๊าซหุงต้ม
ก๊าซธรรมชาติไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีสารพิษ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยสูงสุดผลิตภัณฑ์หนึ่งในปัจจุบัน เมื่อเผาไหม้แล้วจะเป็นเชื้อเพลิงสะอาดและส่งผลกระทบแก่สิ่งแวดล้อมน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำมันเตาและก๊าซหุงต้ม ด้วยเหตุนี้อารยะประเทศจึงนิยมใช้ก๊าซธรรมชาติมาอย่างยาวนาน
โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกตามสมบัติทางเทคนิคได้ 4 ประเภท ดังนี้
1. Sweet gas หมายถึง แก๊สที่มีปฏิกิริยาเป็นกลางต่อกระดาษ pH ที่เปียกน้ำ โดยมีแก๊สมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งเป็นแก๊สไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักเบาที่สุด และอาจพบ ethane, propaneและ pentane ปะปนอยู่บ้าง
2. Sour gas หมายถึง แก๊สธรรมชาติที่มีแก๊สซัลฟูริคปะปนอยู่สูง ทำให้เกิดสภาพที่เป็นกรดขึ้น สามารถตรวจสอบได้โดยใช้กระดาษ pH ที่เปียกน้ำ ถ้ามีไฮโดรเจนซัฟด์ปะปนอยู่สูง อาจทำให้แก๊สนั้นมีพิษได้ ดังนั้นจึงต้องกำจัดไฮโดรเจนวัลไฟด์ก่อนส่งไปยังที่อื่น
3. Dry gas หมายถึงแก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condnsate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซนต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ
4. Wet gas หมายถึง แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกแก๊สธรมชาติเหลว ได้แก่ propane, butane, pentane และ hexane แกีสเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง ทำให้เกิดปญหาในการขนส่ง
ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่สำคัญในลำดับต้นๆ ในโลกปัจจุบันและถือเป็นเชื้อเพลิงที่ปลอดภัย และสะอาด ซึ่งโดยธรรมชาติ ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น และไม่มีรูปแบบ ก๊าซธรรมชาติมีสัดส่วนทั่วไปดังนี้
ชื่อ
สูตรเคมี
สัดส่วนในก๊าซธรรมชาติ
Methane มีเทน
CH4
70 - 90%
Ethane อีเทน
C2H6
0 - 20%
Popane โพรเพน
C3H8
Butane บิวเบน
C4H10
Carbon Dioxide คาร์บอนไดออกไซด์
CO2
0 - 8%
Oxygen ออกซิเจน
O2
0 - 0.2%
Nitrogen ไนโตรเจน
N2
0 - 0.5%
Hydrogen Sulfide ไฮโดรเจนซัลไฟด์
H2S
0 - 5%
ก๊าซอื่นๆ
Ar,He,Ne,Xe
เล็กน้อย
ขอบคุณที่มาของเนื้อหาจาก

www.th.wikipedia.org

ลม

         ลม เมื่อลมร้อนและลมเย็นปะทะกัน จะก่อตัวเป็นพายุทอร์นาโดลม คืออากาศที่เคลื่อนไหว ที่เกิดจากความแตกต่างของความดันอากาศหรือความร้อนสองจุดบนผิวโลก โดยลมจะพัดจากบริเวณที่มีความดันอากาศสูง ไปยังบริเวณที่มีความดันอากาศต่ำ โดยกระแสการไหลของลมจะหยุดเมื่อความดันของสองจุดมีค่าเท่ากัน อย่างไรก็ตามการไหลของลมจะเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากปรากฏการณ์โคริโอลิส
ลม
        กระแสอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวนอน ส่วนกระแสอากาศคือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวตั้ง การเรียกชื่อลมนั้นเรียกตามทิศทางที่ลมนั้นๆ พัดมา เช่น ลมที่พัดมาจากทิศเหนือเรียกว่า ลมเหนือ และลมที่พัดมาจากทิศใต้เรียกว่า ลมใต้ เป็นต้น ในละติจูดต่ำไม่สามารถจะคำนวณหาความเร็วลม แต่ในละติจูดสูงสามารถคำนวณหาความเร็วลมได้
ชนิดของลม
        ลมผิวพื้น (Surface Winds) คือ ลมที่พัดจากบริเวณผิวพื้นไปยังความสูงประมาณ 1 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการคลุกเคล้าของอากาศ และมีแรงฝืดอันเกิดจากการปะทะกับสิ่งกีดขวางร่วมกระทำด้วย ในระดับต่ำแรงความชันความกดอากาศในแนวนอนจะไม่สมดุลกับ แรงคอริออลิส แรงฝืดทำให้ความเร็วลมลดลง มีผลให้แรงคอริออลิสลดลงไปด้วย ลมผิวพื้นจะไม่พัดขนานกับไอโซบาร์ แต่พัดข้ามไอโซบาร์จากความกดอากาศสูงไปยังความกดอากาศต่ำ และทำมุมกับไอโซบาร์ การทำมุมนั้นขึ้นอยู่กับความหยาบของผิวพื้น ถ้าเป็นทะเลที่ราบเรียบจะทำมุม 10 ถึง 20 แต่พื้นดินทำมุม 20 ถึง 40 ส่วนบริเวณที่เป็นป่าไม้หนาทึม อาจทำมุมถึง 90 มุมที่ทำกับไอโซบาร์อยู่ในระดับความสูง 10 เมตร เหนือผิวพื้น ที่ระดับความสูงมากกว่า 10 เมตร ขึ้นไป แรงฝืดลดลง แต่ความเร็วลมจะเพิ่มขึ้น มุมที่ทำกับไอโซบาร์จะเล็กลง ส่วนที่ระดับความสูงใกล้ 1 กิโลเมตร เกือบไม่มีแรงฝืด ดังนั้นลมจึงพัดขนานกับไอโซบาร์
        ลมกรด (Jet Stream) เป็นกระแสลมแรงอยู่ในเขตโทรโพพอส (แนวแบ่งเขตระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์กับชั้นสเตรโตสเฟียร์) เป็นลมฝ่ายตะวันตกที่มีความยาวหลายพันกิโลเมตร มีความกว้างหลายร้อยกิโลเมตร แต่มีความหนาเพียง 2-3 กิโลเมตร เท่านั้น โดยทั่วไปลมกรด พบอยู่ในระดับความสูงประมาณ 10 และ 15 กิโลเมตร แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งในระดับที่สูงกว่า และในระดับที่ต่ำกว่านี้ได้ ตรงแกนกลางของลมเป็นบริเวณแคบ แต่ลมจะพัดแรงที่สุด ถัดจากแกนกลางออกมาความเร็วลมจะลดน้อยลง ลมกรดมีความเร็วลมประมาณ 150-300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และที่ระดับความสูงใกล้ 12 กิโลเมตร จะมีความเร็วลมสูงถึง 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกอื่นๆ มีความเร็วลมเพียง 50-100 กิโลเมตรต่อ ชั่วโมง ลมนี้มีลักษณะเป็นลำคล้ายท่อรูปวงรีขนาดใหญ่ ในฤดูร้อน ความเร็วลมมีน้อย ส่วนในฤดูหนาวความเร็วลมจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นักบินพันธมิตรได้อาศัยกระแสลมกรดยิงจรวดจากฐานทัพมหาสมุทรแปซิฟิกไปยังประเทศญี่ปุ่น
ลมมรสุม
        ลมมรสุม (Monsoon) มาจากคำในภาษาอาหรับว่า Mausim แปลว่า ฤดู ดังนั้นลมมรสุมจึงหมายถึง ลมที่พัดเปลี่ยนทิศทางกลับการเปลี่ยนฤดูคือ ฤดูร้อนจะพัดในทิศทางหนึ่ง และจะพัดเปลี่ยนทิศทางในทางตรงกันข้ามในฤดูหนาว ครั้งแรกใช้เรียกลมนี้ในบริเวณทะเลอาหรับซึ่งพัดอยู่ในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะเวลา 6 เดือน และพัดอยู่ในทิศทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นระยะเวลา 6 เดือน แต่อยู่ในส่วนอื่นๆ ของโลก ลมมรสุมที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ลมมรสุมที่เกิดขึ้นในเอเชียตะวันออก และเอเชียใต้
ลมท้องถิ่น
        ลมท้องถิ่น เป็นลมที่เกิดขึ้นภายในท้องถิ่น เนื่องจากอิทธิพลของภูมิประเทศและความเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศ ลมท้องถิ่นแบ่งแยกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
        1. ลมบกและลมทะเลเป็นลมที่เกิดจากความแตกต่างอุณหภูมิของอากาศเหรือพื้นดินและพื้นน้ำ เป็นลมที่พัดประจำวัน
  • ลมทะเล (Sea Breeze) เกิดขึ้นในฤดูร้อนตามชายฝั่งทะเล ในเวลากลางวันเมื่อพื้นดินได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์จะมีอุณหภูมิสูงกว่าพื้นน้ำ และอากาศเหนือพื้นดินเมื่อได้รับความร้อนจะขายายตัวลอยขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือพื้นน้ำซึ่งเย็นกว่าจะไหลเข้าไปแทนที่ เกิดลมจากทะเลพัดเข้าหาฝั่งมีระยะทางไกลถึง 16-48 กิโลเมตร และความแรงของลมจะลดลงเมื่อเข้าถึงฝั่ง
  • ลมบก (Land Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางคืน เมื่อพื้นดินคายความร้อนโดยการแผ่รังสีออก จะคายความร้อนออกได้เร็วกว่าพื้นน้ำ ทำให้มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นน้ำ อากาศเหนือพื้นน้ำซึ่งร้อนกว่าพื้นดินจะลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือพื้นดินซึ่งเย็นกว่าจะไหลเข้าไปแทนที่ เกิดเป็นลมพัดจากฝั่งไปสู่ทะเล ลมบก ซึ่งลมบกจะมีความแรงของลมอ่อนกว่าลมทะเล จึงไม่สามารถพัดเข้าสู่ทะเลได้ระยะทางไกลเหมือนลมทะเล โดยลมบกสามารถพัดเข้าสู่ทะเลมีระยะทางเพียง 8-10 กิโลเมตร เท่านั้น
        2. ลมภูเขาและลมหุบเขา เป็นลมประจำวันเช่นเดียวกับลมบกและลมทะเล ลมหุบเขา (Valley Breeze) เกิดขึ้นในเวลากลางวัน อากาศตามภูเขาและลาดเขาร้อน เพราะได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ ส่วนอากาศที่หุบเขาเบื้องล่างมีความเย็นกว่าจึงไหลเข้าแทนที่ ทำให้มีลมเย็นจากหุบเขาเบื้องล่างพัดไปตามลาดเขาขึ้นสู่เบื้องบน เรียกว่า ลมหุบเขา
        3. ลมพัดลงลาดเขา (Katabatic Wind) เป็นลมที่พัดอยู่ตามลาดเขาลงสู่หุบเขาเบื้องล่าง ลมนี้มีลักษณะคล้ายกับลมภูเขา แต่มีกำแรงกว่า สาเหตุการเกิดเนื่องจากลมเย็นและมีน้ำหนักมากเคลื่อนที่จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำภายใต้แรงดึงดูดของโลก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในข่วงเวลากลางคืน เมื่อพื้นดินคายความร้อนออก ในฤดูหนาวบริเวณที่ราบสูงภายในทวีปมีหิมะทับถมกันอยู่ อากาศเหนือพื้นดินเย็นลงมาก ทำให้เป็นเขตความกดอากาศสูง ตามขอบที่ราบสูงแรงความชันความกดอากาศมีความแรงพอที่จะทำให้อากาศหนาว จากที่สูงไหลลงสู่ที่ต่ำได้ บางครั้งจึงเรียกว่าลมไหล (Drainage Wind) ลมนี้มีชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ลมโบรา (Bora) เป็นลมหนาวและแห้ง มีต้นกำเนิดมาจากลมหนาวในสหภาพโซเวียต (ปี พ.ศ. 2534 เปลี่ยนชื่อเป็นเครือจักรภพอิสระ) พัดข้ามภูเขาเข้าสู่ชายฝั่งทะเลเอเดรียติกของประเทศยูโกสลาเวีย จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือในฤดูหนาว เกิดขึ้นได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน แต่จะเกิดขึ้นบ่อยและลมมีกำลังแรงจัดในเวลากลางคืนและสมมิสทราล (Mistras) เป็นลมหนาวและแห้งเช่นเดียวกับลมโบรา แต่มีความเร็วลมน้อยกว่า พัดจากภูเขาตะวันตกลงสู่หุบเขาโรนทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส
        4. ลมชีนุก (Chinook) เป็นลมที่เกิดขึ้นทางด้านหลังเขา มีลักษณะเป็นลมร้อนและแห้ง ความแรงลมอยู่ในขั้นปานกลางถึงแรงจัด การเคลื่อนที่ของลมเป็นผลจากความกดอากาศแตกต่างกันทางด้านตรงข้ามของภูเขา ภูเขาด้านที่ได้รับลมจะมีความกดอากาศมากและอากาศจะถูกบังคับให้ลอยสูงขึ้นสู่ยอดเขา ซึ่งจะขยายตัวและพัดลงสู่เบื้องล่างทางด้านหลังเขา ขณะที่อากาศลอยต่ำลง อุณหภูมิจะค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นตามอัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิอะเดียแบติก จึงเป็นลมร้อนและแห้ง ลมร้อนและแห้งที่พัดลงไปทางด้านหลังเขาทางตะวันออกของเทือกเขารอกกี เรียกว่า ลมชีนุก บริเวณที่เกิดลมเป็นบริเวณแคบๆ มีความกว้างเพียง 2-3 ร้อยกิโลเมตร เท่านั้น และแผ่ขยายจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ไปทางเหนือเข้าสู่แคนาดา ลมชีนุกเกิดขึ้นเมื่อลมตะวันตกชั้นบนที่มีกำลังแรงพัดข้ามแนวเทือกเขาเหนือใต้คือ เทือกเขารอกกี และ เทือกเขาแคสเกต อากาศทางด้านเขาที่ได้รับลมถูกบังคับ ให้ลอยขึ้น อุณหภูมิลดต่ำลง แต่เมื่อลอยต่ำลงไปยังอีกด้านของเขา อากาศจะถูกบีบ ทำให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าลมที่มีลักษณะอย่างเดียวกับลมชีนุก แต่พัดไปตามลาดเขาของภูเขาแอลป์ในยุโรป เรียกว่า ลมเฟิห์น (Foehn) และถ้าเกิดในประเทศอาร์เจนตินา เรียกว่าลมซอนดา (Zonda)
        5. ลมซานตาแอนนา (Santa Anna) เป็นลมร้อนและแห้งพัดจากทางตะวันออก หรือตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่ภาคใต้มลรัฐแคลีฟอร์เนีย จะพัดผ่านบริเวณทะเลทรายและภูเขา จึงกลายเป็นลมร้อนและแห้ง ลมนี้เกิดขึ้นในเขตความกดอากาศสูงบริเวณแกรตเบซิน และเมื่อพัดผ่านบริเวณใดจะก่อให้เกิด ความเสียหายแก่พืชผลบริเวณนั้น โดยเฉพาะในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อต้นไม้ติดผลอ่อนและบริเวณที่มีลมพัดผ่านจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น เช่น เมื่อลมนี้พัดเข้าสู่ภาคใต้มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ทำให้อุณหภูมิสูงกว่าบริเวณที่ไม่มี ลมนี้พัดผ่าน
        6. ลมทะเลทราย (Desert Winds) เป็นลมท้องถิ่นเกิดขึ้นในบริเวณทะเลทราย เวลาเกิดจะมาพร้อมกับพายุฝุ่นหรือพายุทราย คือ ลมฮาบูบ (Haboob) มาจากคำ Hebbec ในภาษาอาหรับแปลว่า ลม ลมฮาบูบ เวลาเกิดจะหอบเอาฝุ่นทรายมาด้วย บริเวณที่เกิดได้แก่ ประเทศซูดานในทวีปแอฟริกา เฉลี่ยจะเกิดประมาณปีละ 24 ครั้ง และบริเวณทะเลทราย ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะทางภาคใต้ของมลรัฐแอริโซนา
        7. ลมตะเภาและลมว่าว เป็นลมท้องถิ่นในประเทศไทย โดยลมตะเภาเป็นที่พัดจากทิศใต้ไปยังทิศเหนือคือ พัดจากอ่าวไทยเข้าสู่ภาคกลางตอนล่าง พัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เป็นลมที่นำความชื้นมาสู่ภาคกลางตอนล่าง ในสมัยโบราณลมนี้ จะช่วยพัดเรือสำเภาซึ่งเข้ามาค้าขายให้แล่นไปตามลำน้ำเจ้าพระยา และพัดในช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเปลี่ยนเป็นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หรืออาจจะเรียกว่าลมข้าวเบา เพราะพัดในช่วงที่ข้าวเบากำลังออกรวง
เครื่องมือวัดอัตราเร็วลม
                 เครื่องมือวัดอัตราเร็วลม เรียกว่า แอนนิโมมิเตอร์(Anemometer) มีหลายรูปแบบ บางรูปแบบทำเป็นถุงปล่อยลู่ บางรูปแบบทำเป็นรูปถ้วย ครึ่งทรงกลม 3 - 4 ใบ วัดอัตราเร็วลมโดยสังเกตการณ์ยกตัวของถุง หรือนับจำนวนรอบของถ้วยที่หมุนในหนึ่งหน่วยเวลา
        เครื่องมือตรวจสอบทิศทางลม เราเรียกว่า ศรลม ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นลูกศร มีหางเป็นแผ่นใหญ่ ศรลม จะหมุนรอบตัวตามแนวราบ จะลู่ลมในแนวขนานกับทิศทางที่ลมพัด เมื่อลมพัดมา หางลูกศรซึ่งมีขนาดใหญ่จะถูกลมผลักแรงกว่าหัวลูกศร หัวลูกศรจึงชี้ไปทิศทางที่ลมพัดมา

ขอบคุณที่มาของเนื้อหาจาก

www.panythai.or.th

ภูมิประเทศ

1. เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ
         ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขา ภูเขา และแอ่งแผ่นดินระหว่างเขา ที่สูงเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสายที่ไหลลงแม่น้ำโขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านใต้ และแม่น้ำสาละวินทางตะวันตก ที่ราบระหว่างเขา (แอ่งแผ่นดิน)ที่แม่น้ำเหล่านี้ไหลผ่านจะเกิดที่ราบดินตะกอนที่แม่น้ำไหลพามาทับถมทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เหมาะในการเพาะปลูกและการตั้งถิ่นฐานจึงกลายเป้นแหล่งชุมชนที่สำคัญ
         เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหลวงพระบาง เทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาผีปันน้ำ เทือกเขาขุนตาล เทือกเขาเพชรบูรณ์ยอดเขาสูงสุดในภาคนี้ คือ ยอดอินทนนท์ (ดอยอ่างกาหลวง) อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ สูงประมาณ 2,595 เมตร เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนินของแม่น้ำ ปิง วัง ยม และน่าน

             2.เขตที่ราบภาคกลาง
         เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาแน่นและกว้างขวางที่สุดของไทย เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ แม่น้ำที่สำคัญในภาคนี้ คือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำบางปะกง เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างใหญ่ พื้นที่อุดมสมบูรณ์จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นบริเวณอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญและเป็นเขตที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ

             3.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         ภูมิประเทศแยกจากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัด โดยมีขอบสูงชันตามแนว เทือกเขาเพชรบูรณ์ทานด้านตะวันตก และด้านใต้ตามแนวทิวเขาสันกำแพงและพนมดงรัก ตอนกลางเป็นแอ่งคล้ายก้นกระทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชี และมูลไหลผ่านและไหล ลงสู่แม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
         เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดองพญาเย็น (ทางตะวันตก) เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรัก
         ลักษณะดินส่วนใหญ่เป็น ดินทราย น้ำซึมผ่านได้เร็ว ไม่อุ้มน้ำจึงนับเป็น ปัญหาสำคัญของภาคนี้ คือ การขาดแคลนน้ำและดินขาดความอุดมสมบูรณ์ทำให้บางพื้นที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากการเกษตรได้ เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งครอบคลุม พื้นที่ถึง 5 จังหวัด ได้แก่ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ยโสธร และ ศรีษะเกษ

             4.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก
         ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทิวเขาและหุบเขา แต่ไม่มีที่ราบ ระหว่างเขาเหมือนภาคเหนือและมีที่ราบแคบๆ
         เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำแควน้อย (ไทรโยค) และแม่น้ำแควใหญ่ (ศรีสวัสดิ์)ไหลมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำแม่กลอง ระหว่างแนวเขามีช่องทางติดต่อกับพม่าทางด่าน แม่สอดจังหวัดตาก และ ด่านเจดีย์สามองค์ ใน จังหวัด กาญจนบุรี

             5.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
         เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลาง และ ที่ราบชายฝั่งทะเลทางใต้
         เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ระหว่างเทือกเขาจันทบุรีกับอ่าวไทยจะเป็นที่ราบแคบๆ พื้นดินอุดมสมบูรณ์เหมาในการปลูกผลไม้
         มีแม่น้ำสายสั้นๆ ได้แก่ แม่น้ำบางปะกงไหลลงอ่าวไทย ลักษณะชายฝั่งเว้าแหว่งเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย หาดทรายสวยงาม เกาะสำคัญได้แก่ เกาะช้าง เกาะกูด และเกาสีชัง

             6.เขตภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบชายฝั่งทะเล และหมู่เกาะต่างๆ ทางภาคใต้
         ภาคใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ลักษณะภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรแคบๆ มีที่ราบจำกัด ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกและตะวันตกของภาคเป็นแนวขนานโดยมีเทือกเขาสูงเป็นสันอยู่ตรงกลาง เทือกเขาสำคัญ ได้แก่ เทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เทือกเขาภูเก็ต และเทือกเขานครศรีธรรมราช
         แม่น้ำสายสั้น ๆ ที่เกิดจาก ภูเขาทางตอนกลางได้แก่ แม่น้ำกระบุรี แม่น้ำตรัง แม่น้ำคีรีรัฐ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปากพนัง และแม่น้ำโก-ลก เกาะที่สำคัญ ได้แก่ เกาะภูเก็ต เกาะสมุย และเกาะพงัน



ขอบคุณที่มาของเนื้อหาจาก
www.panythai.or.th