วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทรัพยากรถ่านหิน

ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้นได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้งที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ มีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีดำ มีทั้งชนิดผิวมันและผิวด้าน น้ำหนักเบา ถ่านหินประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 อย่างได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน นอกจากนั้น มีธาตุหรือสารอื่น เช่น กำมะถัน เจือปนเล็กน้อย ถ่านหินที่มีจำนวนคาร์บอนสูงและมีธาตุอื่น ๆ ต่ำ เมื่อนำมาเผาจะให้ความร้อนมาก ถือว่าเป็นถ่านหินคุณภาพดี
ประเภทของถ่านหิน
การเกิดถ่านหินมีความหลากหลายทั้งจากปัจจัยของแหล่งกำเนิด ระยะเวลาและสภาวะต่างๆ ทำให้ถ่านหินจากแหล่งต่างกันมีองค์ประกอบและคุณสมบัติต่างกันและถูกแบ่งประเภทไว้เป็นศักดิ์ (RANK) ตามความสมบูรณ์ทางธรณีวิทยาที่กลายเป็นถ่านหิน (Coalification Process) สามารถแยกประเภทตามลำดับชั้นได้เป็น 5 ประเภท คือ
         1. พีต (Peat) เป็นขั้นแรกในกระบวนการเกิดถ่านหิน ประกอบด้วยซากพืชซึ่งบางส่วนได้สลายตัวไปแล้ว แต่ซากพืชบางส่วนยังสลายตัวไม่หมด ยังมองเห็นเป็นลำต้น กิ่ง หรือใบ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ มีปริมาณคาร์บอนต่ำ ประมาณร้อยละ 50-60 โดยมวล มีปริมาณออกซิเจนและความชื้นสูงแต่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้
         2. ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินที่มีสีน้ำตาลผิวด้าน มีซากพืชหลงเหลืออยู่เล็กน้อย มีคาร์บอนร้อยละ 60-75 มีออกซิเจนค่อนข้างสูง มีความชื้นสูงถึงร้อยละ 30-70 เมื่อติดไฟมีควันและเถ้าถ่านมาก มีความชื้นมาก เป็นถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า บ่มใบยาสูบ
         3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าลิกไนต์ มีสีน้ำตาลถึงสีดำ ผิวมีทั้งด้านและเป็นมัน มีทั้งเนื้ออ่อนและเนื้อแข็ง มีความชื้นประมาณร้อยละ 25-30 มีคาร์บอนสูงกว่าลิกไนต์ เป็นเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพเหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้าและงานอุตสาหกรรม
         4. บิทูมินัส (Bituminous) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าซับบิทูมินัส เนื้อแน่น แข็ง มีสีน้ำตาลถึงสีดำสนิท ประกอบด้วยชั้นถ่านหินสีดำมันวาว ใช้เป็นเชื้อเพลิงเพื่อการถลุงโลหะ และเป็นวัตถุดิบเพื่อเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงอื่นๆ
         5. แอนทราไซต์ (Anthracite) เป็นถ่านหินที่ใช้เวลาในการเกิดนานกว่าบิทูมินัส มีลักษณะดำเป็นเงา มันวาวมาก มีรอยแตกเว้าแบบก้นหอย มีปริมาณคาร์บอนประมาณร้อยละ 90-98 ความชื้นต่ำประมาณร้อยละ 2-5 มีค่าความร้อนสูงแต่ติดไฟยาก เมื่อติดไฟให้เปลวไฟสีน้ำเงิน ไม่มีควัน ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่างๆ
การใช้ประโยชน์ถ่านหิน
ถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีแหล่งสำรองกระจายอยู่ทั่วโลกและปริมาณค่อนข้างมาก การขุดถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ถ่านหินราคาถูกกว่าน้ำมัน ถ่านหินส่วนใหญ่จึงถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้หม้อน้ำร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ การบ่มใบยาสูบ และการผลิตอาหาร เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น เช่น การทำถ่านสังเคราะห์ (Activated Carbon) เพื่อดูดซับกลิ่น การทำคาร์บอนด์ไฟเบอร์ (Carbon Fiber) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแกร่งแต่มีน้ำหนักเบา และการแปรสภาพถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเหลว (Coal liquefaction) หรือ เป็นแปรสภาพก๊าซ (Coal Gasification) ซึ่งเป็นการใช้ถ่านหินแบบเชื้อเพลิงสะอาดเพื่อช่วยลดมลภาวะจากการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงได้อีกทางหนึ่ง ภายใต้กระบวนการแปรสภาพถ่านหิน จะสามารถแยกเอาก๊าซที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเป็นพิษ และสารพลอยได้ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในถ่านหินนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีก เช่น กำมะถันใช้ทำกรดกำมะถันและแร่ยิปซัม แอมโมเนียใช้ทำปุ๋ยเพื่อเกษตรกรรม เถ้าถ่านหินใช้ทำวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น
แหล่งถ่านหินในประเทศไทย
ประเทศไทยมีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วทุกภาค มีปริมาณสำรองทั้งสิ้น ประมาณ 2,197 ล้านตัน แหล่งสำคัญอยู่ในภาคเหนือประมาณ 1,803 ล้านตัน หรือร้อยละ 82 ของปริมาณสำรองทั่วประเทศ ส่วนอีก 394 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 18 อยู่ภาคใต้ ถ่านหินส่วนใหญ่มีคุณภาพต่ำอยู่ในขั้นลิกไนต์และซับบิทูมินัส มีค่าความร้อนระหว่าง 2,800 - 5,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม หรือ ถ่านลิกไนต์ 2 - 3.7 ตัน ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตา 1 ตัน ลิกไนต์เป็นถ่านหินที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ที่แม่เมาะ จ.ลำปาง และ จ.กระบี่ จัดว่าเป็นลิกไนต์ที่คุณภาพแย่ที่สุด พบว่าส่วนใหญ่ มีเถ้าปนอยู่มากแต่มีกำมะถันเพียงเล็กน้อย คาร์บอนคงที่อยู่ระหว่างร้อยละ 41 - 74 ปริมาณความชื้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7 - 30 และเถ้าอยู่ระหว่างร้อยละ 2 - 45 โดยน้ำหนัก ในช่วงที่ราคาน้ำมันยังไม่แพงประเทศไทยไม่นิยมใช้ลิกไนต์มากนักแต่ภายหลังที่เกิดวิกฤติน้ำมัน จึงได้มีการนำลิกไนต์มาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นทั้งในด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรม แหล่งถ่านหินที่มีการสำรวจพบบางแหล่งได้ทำเหมืองผลิตถ่านหินขึ้นมาใช้ประโยชน์แล้ว แต่บางแหล่งยังรอการพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ต่อไป
ในฐานะเป็นเชื้อเพลิงตัวหนึ่งถ่านหินก้อมีข้อดีข้อด้อยในตัวเองเช่นเดียวกับเชื้อเพลิงน้ำมัน ก๊าซ และเชื้อเพลิงหมุนเวียน การพิจารณานำมาใช้ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมต่อสถานการณ์แตกต่างกันไป โดยข้อดีและข้อด้อยของเชื้อเพลิงชนิดต่างๆสามารถสรุปเปรียบเทียบได้ดังนี้

เชื้อเพลิง
ข้อดี
ข้อเสีย
ถ่านหิน
มีอยู่มาก ไม่ขาดแคลน ขนส่ง และเก็บง่าย ราคาถูก ปลอดภัย ไม่เสี่ยง
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมากที่สุด ปัญหาการยอมรับของสังคมทำให้ต้องมีการจัดการลดก๊าซ CO มาก
น้ำมัน
เหมาะสมกับภาคขนส่ง ใช้สะดวก ขนส่งและเก็บง่ายแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก ปริมาณสำรองเหลือน้อย
ก๊าซ
มีประสิทธิภาพสูง ไม่เหลือกากหรือเศษที่ต้องกำจัด เหมาะสมกับภาคครัวเรือน
มีองค์ประกอบเป็นคาร์บอนมาก แปลงเป็นเชื้อเพลิงอื่น หรือผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ราคาผันผวนมาก ไม่มั่นคง มีแหล่งเชื้อเพลิงกระจุกตัว มีความเสี่ยงขณะขนส่ง และเก็บ
นิวเคลียร์
เชื้อเพลิงราคาถูก ให้พลังงานมาก ปราศจากคาร์บอน
การจัดการกับกากนิวเคลียร์ยังเป็นประเด็นปัญหา ปัญหาการยอมรับ ความเสี่ยงเรื่องความคุ้มค่าของสังคม เงินลงทุนสูงมาก
เชื้อเพลิงหมุนเวียน
เกิดมลภาวะน้อย ใช้ได้ยั่งยืน
ความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติ หรือการก่อการร้าย ปริมาณจำกัด ขึ้นอยู่กับพื้นที่และฤดูกาล มีไม่พอกับความต้องการ แต่พลังงานน้อย ใช้พื้นที่กองเก็บมาก ราคาผันผวน พลังงานแสงอาทิตย์ใช้พื้นที่มาก ให้พลังงานต่อน้ำหนักน้อย


การใช้ถ่านหินในโลก
ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลก โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 41 มากกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาถูก และสามารถจัดหาได้ง่าย การใช้ถ่าน การใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าทั่วไปจะใช้ความร้อนจากการเผาไหม้ถ่านหินมาต้มน้ำให้เกิดไอน้ำโดยใช้หม้อไอน้ำ (Steam Boiler) หรือเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Steam Generator)และส่งไอน้ำไปขับเคลื่อนกังหันไอน้ำ (Steam Turbine)และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)เพื่อผลิตไฟฟ้า
นอกจากใช้ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าแล้ว ถ่านหินยังเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่สำคัญในภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก ปูนซีเมนต์ กระดาษ อาหาร เป็นต้น สารเคมีต่างๆ ในถ่านหินยังสามารถแยกออกมาเพื่อผลิตพลาสติก น้ำมันทาร์ ไฟเบอร์สังเคราะห์ ปุ๋ย และยาได้
แหล่งถ่านหินนั้นมีกระจายอยู่เกือบทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งแหล่งที่สามารถขุดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ (Recoverable Reserves) มีประมาณ 70 ประเทศ ซึ่งจากการประมาณปริมาณสำรองถ่านหินของโลก โดย Energy Information Administration ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าในปี พ.ศ. 2546 ทั่วโลกมีปริมาณสำรองถ่านหิน 1,000,912 ล้านตัน โดยพื้นที่ที่มีปริมาณสำรองถ่านหินอยู่มาก ได้แก่ ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา ทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศโปแลนด์ เยอรมัน และทวีปเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีน ออสเตรเลีย อินเดีย และประเทศรัสเซีย
เนื่องจากถ่านหินมีราคาถูก สามารถจัดหาได้ง่ายและกองเก็บไว้ในโรงไฟฟ้าได้ทำให้การผลิตไฟฟ้าเพื่อรองรับไฟฟ้าขั้นต่ำ (Base Load Demand)ส่วนความผันผวนของราคาถ่านหิน เนื่องจากถ่านหินเป็นสินค้า (Commodity)ชนิดหนึ่งซึ่งมีการซื้อขายกันในตลาดโลกเช่นเดียวกับน้ำมัน ราคาถ่านหินจึงอาจมีแนวโน้มสูงขึ้นหรือต่ำลงในลักษณะเดียวกับน้ำมันได้ ซึ่งเป็นไปตามสภาวะเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ และการเก็งกำไรในตลาด อย่างไรก็ตามถ่านหินยังคงมีราคาถูกเมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่น
การใช้ถ่านหินในประเทศไทย
ถ่านหินส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นลิกไนต์ (Lignite) ที่มีคุณภาพค่อนข้างต่ำ คือมีค่าความร้อนต่ำ ความชื้นสูง เถ้าสูง และบางแหล่งมีปริมาณซัลเฟอร์สูง ดดยมีแหล่งใหญ่ที่สุดอยู่ที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
นอกจากนั้นแล้ว ยังมีถ่านหินที่มีคุณภาพสูงขึ้นคือ ซับบิทูมินัส (Sub bituminous) และแอนทราไซต์ (Anthracite)อยู่เพียงเล็กน้อย ที่จังหวัดเลย สำหรับปริมาณปริมาณถ่านหินสำรองของประเทศไทย แบ่งเป็นลิกไนต์สำหรับผลิตไฟฟ้า มีปริมาณ 1,140 ล้านตัน และซับบิทูมินัส ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม ประมาณ 200 ล้านตัน
ปัจจุบันประชาชนชาวไทยยังไม่ยอมรับเชื้อเพลิงถ่านหินเนื่องจากประสบการณ์ในอดีตของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเทคโนโยยีในสมัยนั้นยังไม่ทันสมัยและการลงทุนติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ควบคุมมลภาวะอาจยังไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบกับแหล่งถ่านหินในประเทศเป็นถ่ายหินที่คุณภาพไม่ดีนัก ถึงแม้ภายหลังจะได้รับการบริหารจัดการเป็นอย่างดี ทั้งด้านเทคโนโลยีที่สะอาดและการได้รับความยอมรับในพื้นที่ แต่ก็ยังเป็นที่กังวลของหลายฝ่าย จึงทำให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีถ่านหินยังไม่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย

ขอบคุณที่มาของเนื้อหาจาก
            http://www.th.wikipedia.org/

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทำแนวกันไฟป่า


กิจกรรมพัฒนาชุมชน  ทำแนวกันไฟป่า
                กิจกรรมพัฒนาชุมชน ทำแนวกันไฟป่า    หมู่ 3   บ้านยางโทน   ตำบลยางโทน  อำเภอไทรโยค   จังหวัดกาญจนบุรี  ร่วมกับ  กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านยางโทน

ชื่อสมาชิก
                                          1. นางสาว  จารุวรรณ     หนองกุ่ม                         เลขที่   3
                                          2. นางสาว  ณัฐชา          ทองมณโฑ                      เลขที่    8
                                          3. นางสาว  ชยาภา         จำรัสไพโรจน์วัฒนา        เลขที่   10
                                          4. นางสาว  นันทิชา       หมื่นสกดดี                       เลขที่    11
                                          5. นางสาว  ศศิวิมล        สุวรรณโชติ                      เลขที่   16
                                           6. นางสาว  สุพัตรา        เสลาคุณ                            เลขที่   17
                                           7. นางสาว  พรรษา        ตรีสาร                              เลขที่   19
                                           8. นางสาว  อุษา             รูปงาม                              เลขที่   31
                                            9. นางสาว  วิภาวัลย์     ยั้งประยุทธ์                      เลขที่   36
                                          10. นางสาว  จริยา          สุภากูลย์                           เลขที่   38
หมู่เรียน 531240502
สาขาการบัญชีการเงิน  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

วัตถุประสงค์
                1.เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนนอกห้องเรียนของชุมชนบ้านยางโทน
                2.เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขของการทำแนวกันไฟป่า
อุปกรณ์
                1. ไม้กวาด
                2. ไม้ไผ่ (ดัดแปลงทำไม้กวาด)
                3. มีด
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
                2. ปรับพื้นที่และแนวระยะทางในการปฏิบัติงาน  มีพื้นที่กว้าง 3 เมตร  ยาว 1 กิโลเมตร
                3. ลงมือปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ปัญหาและอุปสรรค
                1.สมาชิกในกลุ่มบางคนมีการเรียนการสอนในภาคเช้า  ทำให้มาไม่ตรงเวลา  และล่าช้าต่อการปฏิบัติงาน
                2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนสมาชิกในกลุ่ม
ประโยชน์ของการทำแนวกันไฟป่า
                สำหรับการทำแนวกันไฟ มีประโยชน์มากสำหรับหมู่บ้านเพราะภายใน  1 ปี คนในหมู่บ้านสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่านี้ได้มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ในจำพวก เห็ดโคน  ผักหวาน  หน่อไม้  หน่อไม้ลวก เก็บได้มูลค่าประมาณปีละ 7 แสนบาท โดยถัวเฉลี่ย แต่เห็ดที่มีชื่อเสียง คือ เห็ดโคน จึงทำให้เขตหมู่บ้านมีรายได้ตรงจุดนี้เยอะ  เราจึงต้องร่วมกัน ทำแนวกันไฟป่าเพื่อลดอัตราการไหม้ของไฟป่าให้น้อยลง  ผลผลิตในเขตป่านี้จะได้คงเดิมไม่ลดน้อยลง  รายได้ของคนในหมู่บ้านจะได้ไม่สูญหายไป  
                ส่วนในครั้งนี้พวกเราได้มาทำประโยชน์ให้กับหมู่บ้านซึ่งถือว่ามีประโยชน์แก่หมู่บ้านเรามาก ๆ และยังเป็นแบบอย่างให้กับรุ่นน้องได้มาศึกษาในเรื่องของธรรมชาติ  อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและร่วมรณรงค์เรื่องการลดภาวะโลกร้อนด้วย
แหล่งเรียนรู้คู่ธรรมชาติ
                สถานที่นี้เยาวชนสามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ ต้นไม้และสมุนไพร ซึ่งตอนนี้กำลังพัฒนาโดยการทำทางเข้าและกำลังจะทำป้ายชื่อต้นไม้และคุณค่าของต้นไม้แต่ละต้นเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ เพราะเด็กรุ่นใหม่ส่วนมากยังไม่รู้จักต้นไม้ที่อยู่คู่กับธรรมชาติให้เยาวชนได้เรียนรู้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ห้องเรียนธรรมชาติสำหรับเยาวชนและภารกิจอีกอย่างของหมู่บ้านคือตอนนี้ทางเรากำลังทำฝายชลอน้ำเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ซึ่งได้ทำแล้วประมาณ 1,000 ฝายเพื่อถวายแด่ในหลวง
ภาคผนวก
สมาชิกในกลุ่ม



อุปกรณ์


ก่อนทำ



สมาชิกช่วยกันทำแนวกันไฟป่า


ทำแนวกันไฟป่าเสร็จแล้ว



ขอบคุณผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านยางโทน

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประชุมG7 G8

รายงาน
เรื่อง  การประชุม G7 G8

เสนอ
อาจารย์ณรงค์ศักดิ์      พิทักษ์ตันสกุล

จัดทำโดย
นางสาวเมศิณี            เข็มทอง          รหัส 53124050209
นางสาวศศิวิมล        สุวรรณโชติ     รหัส 53124050216
นางสาวสุพัตรา         เสลาคุณ          รหัส 53124050217
นางสาวพรรษา         ตรีสาร             รหัส 53124050219
นางสาวอุษา             รูปงาม              รหัส 53124050231
นางสาวสายฝน         เสือเดช             รหัส 53124050233
นางสาววิภาวัลย์       ยังประยุทธ์       รหัส 53124050236
นางสาวจริยา            สุภากูลย์           รหัส 53124050238
รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2553
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี



คำนำ

                รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาแก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการประชุม G7 G8 ได้มีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นและสามารถนำมาประยุกค์ใช้กับชีวิตประจำวันได้

                กลุ่มของข้าพเจ้าหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาไม่มากก็น้อยหากมีข้อผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

                                                                                                                                                                                                  ขอบคุณค่ะ

คณะผู้จัดทำ

  


องค์การทางเศรษฐกิจระหว่างประเท

G7 (Group of Seven) คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ก่อตั้งในปี พ.. 2518 โดยมีสมาชิกในการประชุมผู้นำ ครั้งแรกที่ Rambouillet ประเทศฝรั่งเศส 6 ประเทศได้แก่ สหรัฐอเมริกาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ต่อมาประเทศแคนาดา และสหภาพยุโรป (European Union) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่ San Juan, Puerto Ricoประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ. 2519 และการประชุมที่ London ปี พ.. 2520 ตามลำดับ

ดังนั้น สมาชิกของกลุ่ม G7 ได้ถูกกำหนดให้มี 7 ประเทศ และ 1 กลุ่ม (European Union) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ในการประชุมที่เมือง Denver ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.. 2540 รัสเซีย
ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าประชุมในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่าการ
ประชุม G8 โดยการประชุม G7/G8 ครั้งล่าสุดซึ่งเป็นครั้งที่ 26 ได้จัดขึ้นที่เกาะ Okinawa ประเทศ
ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคมที่ผ่านมาการประชุมสุดยอดผู้นำ G7/G8 ได้จัดขึ้นเป็นประจำ ทุก ๆ ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหาทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สำคัญ ๆ ของประเทศสมาชิกและปัญหาระหว่างประเทศอื่น ๆทั้งนี้ นอกจากการประชุมสุดยอดผู้นำ ประจำ ปีแล้ว G7/G8 ยังได้จัดการประชุมย่อยของรัฐมนตรีกลุ่มต่างๆของประเทศสมาชิก (network of supporting ministerial forums) อันได้แก่ กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (trade ministers), กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
(foreign ministers), กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (finance ministers), กลุ่มรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงสิ่งแวดล้อม (ministers of the environment) และกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
(employment ministers) เป็นประจำ ปีละ 1-4 ครั้ง แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม

การที่ G7/G8 จัดการประชุมสุดยอดผู้นำ นั้นมีเป้าหมายเพื่อที่จะ
1. จัดเตรียมการจัดการเศรษฐกิจโลกร่วมกัน
2. ไกล่เกลี่ยความกดดันที่เกิดจากการพึ่งพากันระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก
การที่ปัจจัยภายนอกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมากขึ้น
3. สร้างความเป็นผู้นำ ทางการเมือง โดยที่ได้รับความร่วมมือจากผู้นำ ของแต่ละประเทศ
แทนที่จะเป็นเพียงแค่จากระดับรัฐมนตรีหรือคณะทำ งาน


แนวการทำงานที่ผ่านมาของ G7/G8 สามารถจำแนกเป็นประเภทกว้างๆได้ดังนี้
1. การจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาค การค้าระหว่างประเทศ และความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกที่มีต่อกลุ่มประเทศที่กำ ลังพัฒนา โดยในระยะหลังทางกลุ่มได้พิจารณาปัญหาระหว่างตะวันออกและตะวันตกในเรื่องของ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ พลังงาน และผู้ก่อการร้ายด้วย

2. ปัญหาทางเศรษฐกิจจุลภาค เช่น การจ้างงาน, เทคโนโลยีสารสนเทศ, สิ่งแวดล้อม,อาชญากรรมและสิ่งเสพติด, และความมั่นคงทางการเมือง ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนไปจนกระทั่งความปลอดภัยจากอาวุธสงครามในระดับภูมิภาค เป็นต้น

3. เรื่องเร่งด่วนต่าง ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือรัสเซียในปี พ.. 2536 และ Ukraine ในเดือนตุลาคม พ.. 2537 ฯลฯ รวมทั้งปัญหาเฉพาะกิจเป็นเรื่องเรื่องไป โดยมีการจัดตั้งคณะปฏิบัติการ (Task Forces or Working Groups) เพื่อมุ่งความสนใจเป็นพิเศษตัวอย่างเช่น คณะปฏิบัติงานในเรื่องการฟอกเงินผ่านกระบวนการค้ายาเสพติดคณะทำ งานด้าน Nuclear Safety และคณะผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Organized Crime)

G7ในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน G7/G8 ถือว่าเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะมีสมาชิกเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายและโครงการที่เกิดขึ้นจากการประชุมได้เน้นไปในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิกนอกจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเงินแล้ว G7/G8 ยังได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น การเมือง สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ ยาเสพติด ความไม่สงบระหว่างประเทศหรือภายในประเทศใดประเทศหนึ่งและปัญหาผู้ก่อการร้าย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจได้เช่นเดียวกันดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอันใดให้สำเร็จได้นั้นจะต้องขจัดปัญหาในด้านอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจด้วย สำ หรับในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะโครงการทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเท่านั้น



โครงการด้านเศรษฐกิจและการเงินที่กำลังดำเนินงาน
การประชุมสุดยอดผู้นำ ที่ผ่านมาและการประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศสมาชิก ซึ่งจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ มีสาระสำคัญของแนวนโยบายโดยย่อใน 4 ประเด็นดังนี้

1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมั่นคงของประเทศสมาชิกอยู่เสมอ โดยการ
- กำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและ Structural Policies เช่น การให้ความ
สำคัญและลงทุนในธุรกิจที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ
- เน้นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G8

2. การพัฒนาเศรษฐกิจโลก (Development in the Global Economy)
- เพิ่มสมดุลและสเถียรภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการพัฒนา
ระบบเศรษฐกิจที่สำคัญของโลกให้มีความทัดเทียมกัน และให้ความสำ คัญกับ
เศรษฐกิจของตลาดเงินใหม่และของรัสเซียด้วย

3. การปรับปรุงฟื้นฟูสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFIs -- International Financial
Institutions) และส่งเสริมการปรับโครงสร้างระบบการเงินโลก (International
Financial Architecture)
- เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะลดผลกระทบที่
อาจเกิดจากความล้มเหลวของระบบการเงินภายในประเทศใดประเทศหนึ่งที่
จะส่งผลถึงระบบการเงินโลกในอนาคต โดยเน้นไปที่การปฏิรูป IMF,
World Bank, และภาครัฐของประเทศต่าง ๆ

4. การยกระดับประเทศยากจนที่มีหนี้สินสูง (Enhanced Highly Indebted Poor Countries
(HIPC) Initiative)
- สนับสนุนให้ประเทศเจ้าหนี้ยกเลิกหนี้สินให้แก่ประเทศกลุ่มนี้
- พัฒนาโครงการ Poverty Reduction Strategy Papers (PRSPs)


การประชุมสุดยอดผู้นำ ที่ Okinawa และสิ่งที่ไทยควรให้ความสนใจ
การประชุมสุดยอดผู้นำ G8 ที่เกาะ Okinawa ประเทศญี่ปุ่นระหว่างวันที่ 21-23 กรกฎาคม2543 เป็นการจัดตามรูปแบบการประชุมที่ Birmingham ในปี พ.. 2541 โดยจัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขึ้นก่อนหน้าการประชุมสุดยอดผู้นำ ที่เกาะ Kyushu ระหว่างวันที่ 8 และ 12-13 กรกฎาคม 2543 ซึ่งแตกต่างจากการประชุมสุดยอดผู้นำ ที่เคยจัดก่อนหน้าการประชุมที่ Birmingham ซึ่งจัดการประชุมของกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและของกลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพร้อมกับการประชุมสุดยอดผู้นำ ประเทศญี่ปุ่นได้เตรียมหลักการของการประชุมไว้ในสามหัวข้อพื้นฐานได้แก่ "Greater Prosperity" "Peace of Mind" และ"World Stability" นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังได้พยายามผลักดันให้ประเทศกำ ลังพัฒนา ประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกอื่น ๆ องค์กรพัฒนาเอกชน(NGOs) และ Civil Society เพิ่มการมีส่วนร่วมทั้งก่อนการประชุมและระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำ รวมทั้งจัดหาสิ่งอำ นวยความสะดวกอย่างเป็นทางการแก่องค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)โดยสร้าง NGO Center ขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย

การประชุมสุดยอดผู้นำ G8 ครั้งนี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งยังได้สร้างมิติใหม่ในการเพิ่มความสำคัญกับคุณค่าของทรัพยากรมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน รวมทั้งจัดรูปแบบการเข้าถึง GlobalGovernance ในศตวรรษที่ 21

อย่างไรก็ตาม การประชุมที่เกาะ Okinawa ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จตามที่คาดไว้ในหลาย ๆ ประการ ได้แก่ ความไม่ชัดเจนในการเพิ่มปริมาณเงินทุนเพื่อสนับสนุนงานชิ้นใหม่ ๆ และเงินเพื่อสนับสนุนโครงการโรคติดต่อ (Infectious Disease) และองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs)
อีกทั้งเป้าหมายการทำ งานที่ลดลงในเรื่องของจำนวนประเทศที่ได้รับเข้ามาอยู่ในโครงการ HIPC
Initiaitive ภายในปี 2543 จาก 30 ประเทศ เหลือ 20 ประเทศ รวมทั้งข้อตกลงด้านการค้าซึ่งที่ประชุมไม่สามารถหาข้อตกลงที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมของประเทศที่กำ ลังพัฒนาในตลาดของประเทศกลุ่ม G7/G8 และไม่มีแม้แต่ข้อเรียกร้องที่ชัดเจนในการเรียกประชุมเจรจาภายใต้กรอบพหุภาคีภายในสิ้นปีนี้

ด้านการเมือง Okinawa Summit ได้มีผลงานคืบหน้าน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทางกลุ่มสร้างความคืบหน้าเพียงเล็กน้อยในการลดความตรึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งส่งผลให้ไม่สามารถเพิ่มความมั่นใจในการควบคุมอาวุธในเอเชียและกดดันให้มีการถอนกำ ลังของอเมริกาและของรัสเซียออกจากเกาะ Okinawa และอาณานคิมทางตอนเหนือของญี่ปุ่นตามลำดับ


นอกจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมแล้ว ประเทศญี่ปุ่นยังเปรียบเสมือนตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของประเทศในทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นได้ทำ หน้าที่นี้ได้เป็นอย่างดี โดยได้เพิ่มการมีส่วนร่วมของประเทศในเอเชียอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย ทั้งในการประชุมสุดยอดผู้นำ G8 และการประชุมของรัฐมนตรีต่าง ๆ ของ G7/G8 ในวันที่ 8 มิถุนายน 2543 ญี่ปุ่นได้จัดประชุมผู้บริหาร6 ประเทศ (ญี่ปุ่น ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ลาว) ในหัวข้อ "The Future of Asia"โดยมี ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นตัวแทนของประเทศไทยในครั้งนั้น ซึ่งญี่ปุ่นได้เน้นถึงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Revolution)ขึ้นในภูมิภาคนี้และได้ตระหนักถึงปัญหาความแตกต่างทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ต่อมาในวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ญี่ปุ่นได้จัดการสัมมนาผู้บริหารระดับสูง WorldEconomic Symposium ณ นครฟูกูโอกะ ในหัวข้อ “ The Asian Economy in the 21st Century :Prospects and Issues for Its Resurgence in Globalization” ก่อนการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของกลุ่มประเทศ G7 ที่มีขึ้นในโอกาสเดียวกัน และได้เชิญนายธารินทร์นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนญี่ปุ่นตามคำ เชิญของ
รัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อเข้าหารือกับผู้นำ G8 ระหว่างวันที่ 19-21 กรกฎาคม 2543 ณ กรุงโตเกียว ประเทศ
ญี่ปุ่น ในฐานะที่ไทยเป็นประธานคณะกรรมการประจำ อาเซียน (ASEAN Standing Committee)
และประธานการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และ ดร.สุรินทร์
พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมเพื่อเตรียมการประชุมครั้งนี้โดยได้
หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกลุ่ม G8 ที่เกาะคิวชิว ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่
12-13 กรกฎาคม 2543 ซึ่งประเด็นที่ได้นำ ขึ้นมาหารือในที่ประชุม ได้แก่ ปัญหาความแตกต่างใน
ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Divide) ระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศ
กำ ลังพัฒนา การปลดเปลื้องหนี้สินของประเทศด้อยพัฒนา ความมั่นคงและปลอดภัยด้านอาหาร
ปัญหาสิ่งแวดล้อม และปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ เป็นต้น

ถึงแม้ว่า จะไม่สามารถมองเห็นผลกระทบของการประชุมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกและ
การบริหารงานโลก (Global Governance) ที่ชัดเจนหลังจากผลการประชุมสุดยอดผู้นำ ซึ่งมีระยะ
เวลาเพยี ง 3 วัน แต่โครงการที่จะตามมาในช่วงเวลา 1-2 ปี ต่อจากนี้ และการประชุมสุดยอดผู้นำครั้ง
ต่อ ๆ ไปจะเป็นสิ่งสานต่อและแสดงผลกระทบที่ชัดเจน และจะส่งผลถึงประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย
ตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทยอย่างแน่นอน

จีแปด (G8) เป็นกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ที่เพิ่มมาจากกลุ่ม G7 (เพิ่มรัสเซีย) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 8 ประเทศคือ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี รัสเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ถือเป็น 65% ของโลก นอกจากนั้น ยังมีประธานแห่งสหภาพยุโรปร่วมประชุมด้วย



การประชุมประจำปี
วันที่ ประเทศ ผู้นำประธาน สถานที่จัด เว็บ
1 15 พ.ย.-17 พ.ย. 2518  ฝรั่งเศส วาเลรี ยิสการ์ด เดส์แตง รองบุยเยต์  
2 27 มิ.ย.-28 มิ.ย. 2519  สหรัฐอเมริกา เจอรัลด์ ฟอร์ด ซาน ฆวน เปอร์โต ริโก  
3 7 พ.ค.-8 พ.ค. 2520  สหราชอาณาจักร เจมส์ คอลลากาน ลอนดอน  
4 16 ก.ค.-17 ก.ค. 2521  เยอรมนีตะวันตก เฮลมุต ชมิดต์ บอนน์  
5 28 มิ.ย.-29 มิ.ย. 2522  ญี่ปุ่น โอฮิร มะซะโยะชิ โตเกียว  
6 22 มิ.ย.-23 มิ.ย. 2523  อิตาลี ฟรานเซสโก กอสสิกา เวนิส  
7 20 ก.ค.-21. ก.ค. 2524  แคนาดา Pierre E. Trudeau มองเตอ Montebello คิวเบก  
8 4 มิ.ย. -6 มิ.ย. 2525  ฝรั่งเศส ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ แวร์ซาย  
9 28 พ.ค.-30 พ.ค. 2526  สหรัฐอเมริกา โรนัลด์ เรแกน วิลเลียมส์เบิร์ก เวอร์จิเนีย  
10 7 มิ.ย.-9 มิ.ย. 2527  สหราชอาณาจักร มาร์กาเร็ต เท็ตเชอร์ ลอนดอน  
11 2 พ.ค.-4 พ.ค. 2528  เยอรมนีตะวันตก เฮลมุต โคห์ล บอนน์  
12 4 พ.ค.-6 พ.ค. 2529  ญี่ปุ่น นะงะโซะเนะ ยะสุฮิโระ โตเกียว  
13 8 พ.ค.-10 พ.ค. 2530  อิตาลี อมินโตร์ ฟานฟานี เวนิส  
14 19 มิ.ย.-21 มิ.ย. 2531  แคนาดา ไบรอัน มัลโรนี โตรอนโต
15 14 ก.ค.-16 ก.ค. 2532  ฝรั่งเศส ฟรองซัวส์ มิแตรรองด์ กรองด์ อาร์ช ปารีส
16 9 ก.ค.-11 ก.ค. 2533  สหรัฐอเมริกา จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ฮูสตัน เทกซัส  
17 15 ก.ค.-17 ก.ค. 2534  สหราชอาณาจักร จอห์น เมเจอร์ ลอนดอน  
18 6 ก.ค.-8 ก.ค. 2535  เยอรมนี เฮลมุต โคห์ล มิวนิก  
19 7 ก.ค.-9 ก.ค. 2536  ญี่ปุ่น มิยะซะวะ คีอิจิ โตเกียว  
20 8 ก.ค.-10 ก.ค. 2537  อิตาลี ซิลวิโอ เบอร์ลุสโกนี นาโปลี  
20 15 มิ.ย.-17 มิ.ย. 2538  แคนาดา ชอง Chrétien Halifax โนวา สโกเทีย  
- 19 มิ.ย.-20 มิ.ย. 2539
(Special summit on nuclear security)  สหภาพโซเวียต บอริส เยลต์ซิน มอสโก  
22 27 มิ.ย.-29 มิ.ย. 2539  ฝรั่งเศส ฌากส์ ชีรัก ลียง  
23 20 มิ.ย.-22 มิ.ย. 2540  สหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน เดนเวอร์ โคโรราโด [1]
24 15 พ.ค.-17 พ.ค. 2541
(การประชุมครั้งแรกในนาม G8)  สหราชอาณาจักร โทนี แบลร์ เบอร์มิงแฮม [2]
25 18 มิ.ย.-20 มิ.ย. 2542  เยอรมนี เกอฮาร์ด ชโรเดอร์ โคโลญ  
26 21 ก.ค.-23 ก.ค. 2543  ญี่ปุ่น โมะริ โยะชิโร นะโงะ โอะกินาวะ [3]
27 20 ก.ค.-22 ก.ค. 2544  อิตาลี ซิลวิโอ เบอร์ลุสโกนี เจโนวา [4]
28 26 มิ.ย.-27 มิ.ย. 2545  แคนาดา Jean Chrétien Kananaskis แอลเบอร์ตา [5]
29 2 มิ.ย.-3 มิ.ย. 2546  ฝรั่งเศส ฌากส์ ชีรัก เอวียอง-เลส์-แบ็งส์ [6]
30 8 มิ.ย.-10 มิ.ย. 2547  สหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช Sea Island, Georgia [7]
31 6 ก.ค.-8 ก.ค. 2548  สหราชอาณาจักร โทนี แบลร์ Gleneagles สกอตแลนด์ [8]
32 15 ก.ค. -17 ก.ค. 2549  สหภาพโซเวียต วลาดิเมียร์ ปูติน Strelna เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก [9]
33 6 มิ.ย.-8 มิ.ย. 2550  เยอรมนี อังเงลา แมร์เคิล Heiligendamm,
Mecklenburg-Vorpommern [10]
34 7 ก.ค. -9 ก.ค. 2551  ญี่ปุ่น ยะซุโอะ ฟุกุดะ Toyako ฮกไกโด  
35 2552  อิตาลี    
36 2553  แคนาดา  
37 2554  ฝรั่งเศส    
38 2555  สหรัฐอเมริกา    
39 2556  สหราชอาณาจักร    
40 2557  สหภาพโซเวียต


G8 กลุ่มชาติอุตสาหกรรมทั้ง8
กลุ่มชาติอุตสาหกรรมทั้ง 7 : G7
ที่มากลุ่มชาติอุตสาหกรรมทั้ง 7 : G7
การกำเนิดของกลุ่ม G7 นั้นแรกเริ่มเดิมทีก็มีสาเหตุมาจาก วิกฤติการณ์น้ำมัน(oil crisis) ในปี 1973 อันเนื่องมาจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ซึ่งเป็นผลให้เกิดภาวะของเศรษฐกิจโลกตกต่ำตามมาภายหลัง ด้วยปัญหาภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจโลกอันเนื่องมาจากวิกฤติพลังงานนี่เองที่ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำในการฟอร์มกลุ่ม Library Group ซึ่งเป็นการร่วมชุมนุมของเจ้าหน้าที่ระดับสูงทางด้านการเงินการคลังจากประเทศอเมริกา ยุโรปและญี่ปุ่นเพื่อถกถึงประเด็นทางด้านเศรษฐกิจซึ่งไม่เหมือนกับสถาบันองค์กรระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติ (UN) และธนาคารโลก (World Bank) G7 ไม่ได้ถูกสนับสนุนโดยคณะผู้บริหารนานาชาติ..กลุ่ม G7 นี้ไม่มีคณะผู้ทำงานและงบประมาณถาวร แต่เป็นรัฐบาลของประเทศที่ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมที่อำนวยความสะดวกสำหรับการประชุมของกลุ่มในช่วงนั้นของปี
G7 (Group of Seven) คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ.2518 โดยมีสมาชิกในการประชุมผู้นำครั้งแรกที่ Rambouillet ประเทศฝรั่งเศส 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ต่อมาประเทศแคนาดา และสหภาพยุโรป (European Union) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชมที่ San Juan, Puerto Rico ประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2519 และการประชุมที่ London ปี พ.ศ.2520 ตามลำดับ ดังนั้น สมาชิกของกลุ่ม G7 ได้ถูกกำหนดให้มี 7 ประเทศ และ 1 กลุ่ม (European Union) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ในการประชุมที่เมือง Denver ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ.2540 รัสเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าร่วมประชุมในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่าการประชุม G8


ที่ประชุม G7 มองเศรษฐกิจโลกยังเสี่ยงอาจต้องลดดอกเบี้ยและภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
G7 เตือนความวุ่นวายในตลาดการเงินอาจนำไปสู่การลดดอกเบี้ยและภาษีอีก
              
ในการประชุม G7 ที่ผ่านมาที่ประชุมเห็นว่าความวุ่นวายในตลาดการเงิน ยังคงเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า ประเทศชั้นนำต่างๆ อาจจะต้องมีการลดดอกเบี้ยอีก และ ต้องมีการลดภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ความเสี่ยงที่เงินจะสูงขึ้นอีกในบางประเทศจะจำกัดการปรับลดดอกเบี้ยได้ โดยการประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางชาติชั้นนำ 7 ชาติครั้งนี้ เห็นพ้องกันว่า ยังคงเผชิญความเสี่ยงในช่วงขาลง นั่นหมายถึง การที่ตลาดบ้านสหรัฐฯ ที่ย่ำแย่ และตลาดสินเชื่อที่เข้มงวดและวุ่นวาย และปราศจากการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะเจาะจง

ผู้นำที่เข้าร่วมประชุม G7 เห็นด้วยกับการลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย
             ผู้ว่าธนาคารกลางแคนาดาได้มีการส่งสัญญาณในการประชุม G7 ว่าจะมีการตัดลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก ขณะที่ประธานธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB ชอง คลอด ทริเชต์ ย้ำว่าความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจยุโรปมีเพิ่มมากขึ้น ด้านนายชอง คลอด จุงเกอร์ รัฐมนตรีคลังของลักเซมเบิร์ก ซึ่งเป็นตัวแทนของ 15 ประเทศสมาชิกที่ใช้เงินยูโรร่วมกัน ได้กล่าวว่า ยังมีอีกหลายประเทศในยุโรป ที่ยังสามารถตัดลดดอกเบี้ยได้อีกเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภค

G7 พอใจการจัดการค่าเงินหยวนของจีน
               ส่วนประเด็นเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน บรรดา รมต. คลังและผู้ว่าฯ G7 มีความพอใจในความพยายามของจีนในการจัดการอัตราแลกเปลี่ยน และยอมให้แข็งค่ามากขึ้น แต่ก็ยังคงมีการกดดันต่อไปจากเจ้าหน้าที่จากที่ฝั่งยุโรปที่จะให้จีนดำเนินมาตรการให้มากขึ้น ทั้งนี้ค่าเงินหยวนเป็นประเด็นที่สำคัญสำหรับการประชุมตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โดยเชื่อว่าการคุมเข้มค่าเงินหยวนของจีนอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้เกิดภาวะไร้สมดุลของเศรษฐกิจโลก


ประเทศสมาชิก
สมาชิกในการประชุมผู้นําครั้งแรกที่ Rambouilletประเทศฝรั่งเศส 6 ประเทศ
     ได้แก่
1. สหรัฐอเมริกา
2. อังกฤษ
3. ฝรังเศส
4. เยอรมนี
5. อิตาลี่
6. ญี่ปุ่น
     ต่อมาประเทศแคนาดาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่ San Juan, Puerto Ricoประเทศสหรัฐอเมริกา
      ในปี พ.ศ 2519  และสหภาพยุโรป (European Union) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่  London ในปี พ.ศ. 2520 ดังนั้น สมาชิกของกลุ่ม G7 ได้ถูกกำหนดให้มี 7 ประเทศ และ 1 กลุ่ม (European Union) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  อย่างไรก็ดี ในการประชุมที่เมือง Denver ประเทศสหรัฐ อเมริกา  เมื่อปี พ.ศ. 2540  รัสเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าประชุม  ในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นทาง ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่าการ ประชุม G8 
 

การประชุมสุดยอดผู้นํา G7/G8 ได้จัดขึ้นเป็นประจําทุก ๆ ปี  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหา ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สําคัญ ๆ ของประเทศสมาชิกและปัญหาระหว่างประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ นอกจากการประชุมสุดยอดผู้นําประจําปีแล้ว G7/G8ยังได้จัดการประชุมย่อยของรัฐมนตรีกลุ่มต่างๆ ของประเทศสมาชิก (network of supporting ministerial forums)   อันได้แก่

    - กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  (trade ministers)

    - กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (foreign ministers)

    - กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  (finance ministers)

    - กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ministers of the environment)

    - กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  (employment ministers)

เป็นประจํา ปีละ 1-4 ครั้ง แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม    
การที่ G7/G8 จัดการประชุมสุดยอดผู้นํานั้นมีเป้าหมาย เพื่อที่จะ


    1. จัดเตรียมการจัดการเศรษฐกิจโลกร่วมกัน

    2. ไกล่เกลี่ยความกดดันที่เกิดจากการพึ่งพากันระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ปัจจัยภายนอกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมากขึ้น

    3. สร้างความเป็นผู้นําทางการเมือง โดยที่ได้รับความร่วมมือจากผู้นําของแต่ละประเทศแทนที่จะเป็นเพียงแค่จากระดับรัฐมนตรีหรือคณะทํางาน


แนวการทํางานที่ผ่านมาของ G7/G8 สามารถจําแนกเป็นประเภทกว้างๆได้ดังนี้
    1. การจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาค การค้าระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของประเทศ สมาชิกที่มีต่อกลุ่มประเทศที่กําลังพัฒนา โดยทางกลุ่มได้พิจารณาปัญหาระหว่างตะวันออกและ ตะวันตกในเรื่องของ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ พลังงานและผู้ก่อการร้ายด้วย
 
    2. ปัญหาทางเศรษฐกิจจุลภาค เช่น การจ้างงาน,เทคโนโลยีสารสนเทศ, สิ่งแวดล้อม, อาชญากรรมและสิ่งเสพติดและความมั่นคงทางการเมือง ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนไปจนกระทั่งความ ปลอดภัยจากอาวุธสงครามในระดับภูมิภาค เป็นต้น
   
    3. เรื่องเร่งด่วนต่าง ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2536 และ Ukraine ใน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 ฯลฯ รวมทั้งปัญหาเฉพาะกิจเป็นเรื่องเรื่องไป โดยมีการจัดตั้งคณะปฏิบัติ การ (Task Forces or Working Groups) เพื่อมุ่งความสนใจเป็นพิเศษ  ตัวอย่างเช่น คณะปฏิบัติ งานในเรื่อง  การฟอกเงินผ่านกระบวนการค้ายาเสพติดคณะทํางานด้าน Nuclear Safety และคณะ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Organized  Crime) G7ใน ปัจจุบัน
     
        ในปัจจุบัน G7/G8 ถือว่าเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง  เพราะมีสมาชิกเป็น ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ ในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายและโครงการที่เกิด ขึ้นจากการประชุมได้เน้นไปในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิก นอกจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเงินแล้ว G7/G8 ยังได้ให้ความสํ าคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น การเมือง สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ยาเสพติด ความไม่สงบระหว่างประเทศหรือภายใน ประเทศใดประเทศหนึ่ง และปัญหาผู้ก่อการร้าย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอันใดให้สําเร็จได้นั้นจะต้องขจัด ปัญหาในด้านอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจด้วยสําหรับในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ โครงการทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเท่านั้นโครงการด้านเศรษฐกิจและการเงินที่กําลังดําเนินงานการประชุมสุดยอดผู้นําที่ผ่านมาและการประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ประเทศสมาชิก ซึ่งจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ มี สาระสําคัญของแนวนโยบายโดยย่อใน 4 ประเด็นดังนี้
 
    1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมั่น
คงของประเทศสมาชิกอยู่เสมอโดยการกําหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและ Structural
Policiesเช่น การให้ความสําคัญและลงทุนในธุรกิจที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เน้นความร่วมมือ
ด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G8
 
    2. การพัฒนาเศรษฐกิจโลก (Development in the Global Economy)เพิ่มสมดุลและสเถียร
ภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่สําคัญของโลกให้มีความ
ทัดเทียมกัน และให้ความสําคัญกับเศรษฐกิจของตลาดเงินใหม่และของรัสเซียด้วย
      3. การปรับปรุงฟื้นฟูสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFIs International FinancialInstitutions)
และส่งเสริมการปรับโครงสร้างระบบการเงินโลก (InternationalFinancial Architecture)
 
          - เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศซึ่งจะลดผลกระทบที่อาจเกิดจาก
ความล้มเหลวของระบบการเงินภายในประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะส่งผลถึงระบบการเงินโลกใน
อนาคต โดยเน้นไปที่การปฏิรูป IMF,World Bank, และภาครัฐ ของประเทศต่าง ๆ
 
    4. การยกระดับประเทศยากจนที่มีหนี้สินสูง (Enhanced Highly Indebted Poor
Countries(HIPC) Initiative)- สนับสนุนให้ประเทศเจ้าหนี้ยกเลิกหนี้สินให้แก่ประเทศกลุ่มนี้-
พัฒนาโครงการ Poverty Reduction Strategy Papers (PRSPs)
 
               โดยสรุปก็คือกลุ่ม จี 7 (Group of Seven) คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เป็น การรวมกลุ่มของประเทศอุตสาหกรรมซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นกลุ่มประเทศร่ำรวยกันอยู่แล้ว ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และแคนาดา โดยมีจุดประสงค์ก็ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าระหว่างประเทศสมาชิกและส่งเสริมการค้าเสรี ปัจจุบันมีรัสเซียเข้าร่วม จึงกลายเป็นกลุ่ม G8 ไปแล้ว แต่รัสเซียยังถูกจำกัดจึงไม่ได้เข้าประชุมด้วยทุกครั้ง ดังนั้นบางครั้งจึง   เรียกว่า จี7 + รัสเซีย
       กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำดังกล่าว จัดให้มีการประชุมด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับผู้ นำรัฐบาลเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ยังไม่รวมการประชุมย่อยๆ อีกมากมายด้วย โดยมีการผลัดกันเป็นเจ้าภาพในหมู่สมาชิกเรียงลำดับตามตัวอักษร (ตามภาษาอังกฤษ)ทั้งนี้ การประชุมประจำปีมักจะเน้นไปที่การจับตาดูความเคลื่อนไหว กระแสการต่อต้านโลกานุวัตร และเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจร่วมกัน


              กลุ่ม จี 7 รวมตัวกันครั้งแรกในปี 1975 เมื่อกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย 6 ประเทศได้ประชุมเป็นครั้งแรก ซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกา และเมื่อแคนาดาเข้ามาร่วมในปี 1976 ก็เปลี่ยนเป็นกลุ่ม จี 7 และก็กลายเป็น จี 8 ใน ที่สุดเมื่อรัสเซีย มาร่วมด้วย  ในปี 1997 ด้วยการผลักดันของ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดี สหรัฐฯ จี 7 ได้กลายมาเป็นกลุ่ม จี 8 เมื่อรัสเซียเข้าร่วมประชุมด้วย ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณ บอริส
เยลต์ซิน ประธานาธิบดีของรัสเซียในขณะนั้น ซึ่งได้ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและแสดงความเป็น กลาง ในการเคารพการขยายของกลุ่มของนาโตไปยังยุโรปตะวันออก


              อย่างไรก็ตาม "จี 7" ยังคงจำกัดสมาชิกโดยไม่ให้รัสเซีย เข้าร่วมด้วย เนื่องจากทางกลุ่มยัง เห็นว่าหมีขาวยังไม่พัฒนามาก เพียงพอที่จะเข้าร่วมการหารือเศรษฐกิจโลกได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะยังมีปัญหาเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ โดยการประชุมครั้งก่อนๆที่ผ่านมา ได้มี วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ โจ ลิเบอร์แมน และจอห์น แมคเคน ถึงกับเรียกร้องให้รัสเซีย ถอนตัวจากจี 8 ออกไปก่อน จนกว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน จะสร้างความมั่นใจได้ว่ารัสเซียมีความ เป็น ประชาธิปไตยและมีเสรีภาพทางการเมืองอย่างแท้จริง
              ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา จี 7 มีสถานภาพเป็น สมาคมที่ทรงพลังมหาศาลในระบบ เศรษฐกิจโลก แต่ปัจจุบัน กลุ่มประเทศมหาเศรษฐีนี้กำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายที่จี 7 ยังทำไม่ได้ เช่น ความพยายามในแก้ปัญหาราคาน้ำมันดิบโลกที่แพงขึ้น รวมทั้งการบีบให้จีนลดค่าเงินหยวน ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยมองว่า จี 7 ก็มิได้เป็นผู้มีอำนาจจริง ในแวดวงเศรษฐกิจโลกแล้ว เนื่องจากเอเชีย ยุโรปตะวันออก อีกทั้งภูมิภาคต่างๆ กำลังจะเป็นเจ้าแห่งการผลิตของโลกมากขึ้น เรื่อยๆ


บรรณานุกรม