วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ทำแนวกันไฟป่า


กิจกรรมพัฒนาชุมชน  ทำแนวกันไฟป่า
                กิจกรรมพัฒนาชุมชน ทำแนวกันไฟป่า    หมู่ 3   บ้านยางโทน   ตำบลยางโทน  อำเภอไทรโยค   จังหวัดกาญจนบุรี  ร่วมกับ  กลุ่มอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านยางโทน

ชื่อสมาชิก
                                          1. นางสาว  จารุวรรณ     หนองกุ่ม                         เลขที่   3
                                          2. นางสาว  ณัฐชา          ทองมณโฑ                      เลขที่    8
                                          3. นางสาว  ชยาภา         จำรัสไพโรจน์วัฒนา        เลขที่   10
                                          4. นางสาว  นันทิชา       หมื่นสกดดี                       เลขที่    11
                                          5. นางสาว  ศศิวิมล        สุวรรณโชติ                      เลขที่   16
                                           6. นางสาว  สุพัตรา        เสลาคุณ                            เลขที่   17
                                           7. นางสาว  พรรษา        ตรีสาร                              เลขที่   19
                                           8. นางสาว  อุษา             รูปงาม                              เลขที่   31
                                            9. นางสาว  วิภาวัลย์     ยั้งประยุทธ์                      เลขที่   36
                                          10. นางสาว  จริยา          สุภากูลย์                           เลขที่   38
หมู่เรียน 531240502
สาขาการบัญชีการเงิน  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

วัตถุประสงค์
                1.เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนนอกห้องเรียนของชุมชนบ้านยางโทน
                2.เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขของการทำแนวกันไฟป่า
อุปกรณ์
                1. ไม้กวาด
                2. ไม้ไผ่ (ดัดแปลงทำไม้กวาด)
                3. มีด
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
                1. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
                2. ปรับพื้นที่และแนวระยะทางในการปฏิบัติงาน  มีพื้นที่กว้าง 3 เมตร  ยาว 1 กิโลเมตร
                3. ลงมือปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
ปัญหาและอุปสรรค
                1.สมาชิกในกลุ่มบางคนมีการเรียนการสอนในภาคเช้า  ทำให้มาไม่ตรงเวลา  และล่าช้าต่อการปฏิบัติงาน
                2.อุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมีจำนวนไม่เพียงพอต่อจำนวนสมาชิกในกลุ่ม
ประโยชน์ของการทำแนวกันไฟป่า
                สำหรับการทำแนวกันไฟ มีประโยชน์มากสำหรับหมู่บ้านเพราะภายใน  1 ปี คนในหมู่บ้านสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่านี้ได้มูลค่ากว่า 2 ล้านบาท ในจำพวก เห็ดโคน  ผักหวาน  หน่อไม้  หน่อไม้ลวก เก็บได้มูลค่าประมาณปีละ 7 แสนบาท โดยถัวเฉลี่ย แต่เห็ดที่มีชื่อเสียง คือ เห็ดโคน จึงทำให้เขตหมู่บ้านมีรายได้ตรงจุดนี้เยอะ  เราจึงต้องร่วมกัน ทำแนวกันไฟป่าเพื่อลดอัตราการไหม้ของไฟป่าให้น้อยลง  ผลผลิตในเขตป่านี้จะได้คงเดิมไม่ลดน้อยลง  รายได้ของคนในหมู่บ้านจะได้ไม่สูญหายไป  
                ส่วนในครั้งนี้พวกเราได้มาทำประโยชน์ให้กับหมู่บ้านซึ่งถือว่ามีประโยชน์แก่หมู่บ้านเรามาก ๆ และยังเป็นแบบอย่างให้กับรุ่นน้องได้มาศึกษาในเรื่องของธรรมชาติ  อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและร่วมรณรงค์เรื่องการลดภาวะโลกร้อนด้วย
แหล่งเรียนรู้คู่ธรรมชาติ
                สถานที่นี้เยาวชนสามารถเข้ามาเรียนรู้เรื่องธรรมชาติ ต้นไม้และสมุนไพร ซึ่งตอนนี้กำลังพัฒนาโดยการทำทางเข้าและกำลังจะทำป้ายชื่อต้นไม้และคุณค่าของต้นไม้แต่ละต้นเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ เพราะเด็กรุ่นใหม่ส่วนมากยังไม่รู้จักต้นไม้ที่อยู่คู่กับธรรมชาติให้เยาวชนได้เรียนรู้ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ห้องเรียนธรรมชาติสำหรับเยาวชนและภารกิจอีกอย่างของหมู่บ้านคือตอนนี้ทางเรากำลังทำฝายชลอน้ำเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ซึ่งได้ทำแล้วประมาณ 1,000 ฝายเพื่อถวายแด่ในหลวง
ภาคผนวก
สมาชิกในกลุ่ม



อุปกรณ์


ก่อนทำ



สมาชิกช่วยกันทำแนวกันไฟป่า


ทำแนวกันไฟป่าเสร็จแล้ว



ขอบคุณผู้ใหญ่บ้าน หมู่บ้านยางโทน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น